ครูรัตนาภรณ์   ลัธธนันท์  

 

สถิติ
เปิดเมื่อ2/02/2012
อัพเดท24/08/2023
ผู้เข้าชม363614
แสดงหน้า534957
เมนู
ปฎิทิน
November 2024
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
     
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30

การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที21

อ่าน 2771 | ตอบ 1
ถอดบทเรียนจากการฟังบรรยายเรื่อง
ปฏิรูปห้องเรียน ปฏิวัติการสอน  การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
โดย ศ.นพ.วิจารณ์   พานิช
มูลนิธิการสถาบันส่งเสริมจัดการความรู้เพื่อสังคม

1.    ครูทำอะไร ในห้องเรียน ในศตวรรษที่ 21
•    ครูสนุกกับการเรียนเรียนรู้จากการปฏิบัติ
•    ครูต้องเรียนรู้ส่งใหม่ๆ เสมอในการทำหน้าที่ ครูเพื่อศิษย์
•    ครูควรมีการทำงานงาน  การเรียนรู้เป็นกลุ่ม เป็นทีม อย่าทำคนเดียว และสร้างชุมชนการเรียนรู้แลกเปลี่ยนกับเพื่อนครูคนอื่นๆ 
•    วิธีการเรียนรู้ที่ดีที่สุด ควรฝึกนักเรียนให้ตั้งคำถาม
2.    นักเรียนทำอะไรในห้องเรียนกลับทาง    Flip Classroom
•    ที่บ้าน ครูให้นักเรียนดู VDO อย่างมีสมาธิ จดประเด็นสำคัญ คำถาม คิดคำถามที่น่าสนใจ 1 คำถาม   นักเรียนอาจค้นคว้าเพิ่มเติมได้
•    ในชั้นเรียน
o    อภิปรายแลกเปลี่ยนความเข้าใจกับเพื่อน
o    ทำโจทย์ประยุกต์ใช้ความรู้เป็นทีม  หรือเดี่ยว
o    ค้นข้อมูล ความรู้เพิ่มเติม
o    ช่วยกันสรุปประเด็นการเรียนรู้ (AAR =  After Action Review คือ การทบทวนหลังปฏิบัติงาน เป็นขั้นตอนหนึ่งในวงจรการทํางาน เป็นการทบทวนวิธีการทํางาน ทั้งด้านความสําเร็จ และปัญหาที่เกิดขึ้น )
•    นักเรียนอ่อน
•    ดู VDO หลายๆ รอบ กรอกลับ หรือหยุดเป็นช่วงๆ
•    อาจชวนพ่อแม่ดู และช่วยอธิบาย
•    ขอให้เพื่อนที่เรียนเก่งช่วยติว

•    นักเรียนหัวไว
o    ช่วยติวหรือสอนเพื่อน จะยิ่งเรียนได้และคิดเชื่อมโยงมากขึ้น
o    ทำโจทย์หรือโครงงานที่ท้าทาย
o    ช่วยครูทำสื่อการสอน คิดโจทย์ คิดวิธีประเมิน
•    นักเรียนแต่ละคนเรียนตามอัตราความเร็วของตน
3.    ในชั้นเรียน  ควรจัดสภาพห้องเรียนให้เป็นห้องทำงาน
•    ก่อนถึงเวลาเรียน นร.แต่ละคนส่งกระดาษบันทึกความเข้าใจของตนจากการดู VDO  และ 1 คำถาม
•     5 นาที : ห้องเรียนมีกิจกรรม Warm Up 
•    10 นาที :  ถาม  ตอบ เรื่อ VDO
•     35 นาที : ทำกิจกรรม  แบบฝึกหัด  Lab   ที่ครูมอบหมายหรือนักเรียนคิดกันเองว่าอย่างทำอะไร
•    5 นาที : สรุป ความรู้ที่ได้รับ
4.    จัดการประเมินการเรียนรู้อย่างไร
•    ประเมินเพื่อช่วยเหลือ (Formative  Assessment)  ประเมินว่านักเรียนยังไม่รู้อะไร ที่ครูอยากให้รู้
o    ให้นักเรียนแสดงหลักฐานว่าตนรู้แล้ว  ชิ้นงาน  แบบฝึกหัด  รายงาน
o    ครูคุยกับนักเรียนเป็นรายคนเพื่อประเมิน
o    ใช้ IT  Monitor    
•    ประเมินผลสัมฤทธิ์  (Summative Evaluation)
•    คะแนนสอบ  = FA + SE
•    ออกข้อสอบแบบ PISA  ประเมินความเข้าใจ ทักษะประยุกต์ใช้ความรู้
5.    การเรียนจากกิจกรรมระยะยาว
•    เพื่อฝึกให้มีใจที่จดจ่อ สมาธิ ระยะยาว ฝึกทักษะที่ซับซ้อน
•    เพื่อการเรียนแบบซับซ้อน เช่น การทำโครงงาน   การใช้กรณีศึกษา
•    ครูเรฟ ให้นักเรียนเล่นละคร สรุปบทเรียน
•    รร.รุ่งอรุณ ให้นักเรียน   รับงานประเมินผลกระทบทางสุขภาพจากโรงงานอุตสาหกรรม
•    กิจกรรมภาคสนาม  กิจกรรม โครงการพัฒนา ในชุมชน
•    โครงการอาหารกลางวัน ผลิตแหล่งอาหารสำหรับเด็กๆ ในโรงเรียน
วิทยากรเสนอว่า การทำโครงงาน  หรือกิจกรรมระยะยามของนักเรียน ควรมีการเพิ่มเติมดังนี้
1.    บันทึกระหว่างการทำงาน เป็นไดอารี  เล่าขั้นตอนการทำงานสู่ความสำเร็จ  ปัญหาอุปสรรค และวิธีการแก้ไขปัญหา เขียนบันทึก หรือใส่บล็อก เฟสบุ๊คของกลุ่มเพื่อการแลกเปลี่ยนกันระหว่างนักเรียนกับนักเรียน และนักเรียนกับครูในทำงาน
2.    จัดนำเสนอผลงานเป็นทีมให้ทุกคนมีส่วนร่วม เพื่อแลกเปลี่ยนกัน
Learning  By Doing
6.    อุดมการณ์ของการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21
•    เรียนสิ่งที่ไม่ชัดเจน ซับซ้อน  มองได้หลายมุม
•    หนึ่งคำถาม มีหลายคำตอบ
•    ไม่เน้นถูกผิด  ห้องเรียนต้องไม่เน้นถูกผิด  
•    ห้องเรียนต้องปบอดภัย ไม่เน้นการตอบถูกหรือผิด  หรือถ้านักเรียนตอบผิดก็จะไม่ถูกลงโทษให้เสียหน้าเด็กจะไม่กล้าตอบ แต่ให้นักเรียนใช้คำตอบผิดไปเรียนรู้เพื่อหาคำตอบที่ถูกต้องได้
•    ครูชวยศิษย์ตั้งคำถาม แล้วชวนศิษย์ช่วยกันหาคำตอบหลายๆ คำตอบ
•    หาคำตอบจากประสบการณ์การปฏิบัติของตนเอง เป็นสำคัญที่สุด กล้าขัดแย้งกับตำรา ทฤษฎี  ( การเรียนรู้แบบปัญญาปฏิบัติ )
•    เพื่อการเรียนรู้ที่รู้จริง แตกฉาน  ( Learning Skills )
7.    อุดมการณ์ของครู  ในศตวรรษที่ 21
•    ไม่ทำตนเป็น ผู้รู้ ไม่ตอบคำถามศิษย์ที่ถามเนื้อความรู้
•    ทำตนเป็น ผู้ไม่รู้ เน้นตั้งคำถาม ให้ศิษย์ค้นคว้า หรือทดลองปฏิบัติเพื่อหาคำตอบเอง  
•    ท้าทาย กระตุ้นให้ศิษย์เกิดความใคร่รู้ และขวนขวายอดทนหาคำตอบ / ทักษะเอง               ( การเรียนรู้ที่ดี ครูต้องไม่ตอบคำถามเด็ก แต่ถามกลับให้เด็กคิดอย่างเป็นธรรมชาติ เด็กรู้จักคิด และเกิดความท้าทาย เป็นแรงจูงใจในการหาคำตอบ เกิดขึ้นที่ตัวเด็ก )
Inquiry / Challenge-Based Learning


8.    วิธีการที่แตกต่างของการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21
•    สอนน้อย ศิษย์ได้เรียนรู้มาก ( Teach Less   Learn  More )
•    เรียนโดยลงมือทำ ( Active Learning) และทบทวน ไตร่ตรอง (AAA/Reflection)  เรียน = ทำงาน
•    เรียนเป็นทีม  ช่วยเหลือกัน  ไม่ทิ้งกัน
•    ครูเอาใจใส่นักเรียนอ่อน
•    เน้นสอบเพื่อแก้ไข พัฒนา ( Formative Assessment)
•    เรียนให้ใช้ความรู้ เป็น ,  ฝึกใช้ความรู้จริง (mastery)
•    ใช้วิธีเรียนหลายแบบผสมผสานกัน 
9.    คุณค่าของครู...สูงยิ่ง
•    โดยปรับเปลี่ยนการบอกความรู้  โดยใช้เวลาเป็น โค้ช  ให้ศิษย์มีทักษะสำคัญสำหรับการดำรงชีวิตในสังคมยุคใหม่
•    ไม่ใช่เน้นทำหน้าที่ถ่ายทอดความรู้
•    เอาใจใส่ศิษย์ทุกคน เป็นรายคน มิใช่สนจแต่เด็กเก่ง
•    ครูต้องรวมตัวกันเรียนรู้ วิธีทำหน้าที่ โค้ช ศิษย์ให้พัฒนาครบด้าน มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต  สร้างชุมชนเรียนรู้ของครู เพื่อศิษย์  ( PLC = Professional Learning Community )
10.    การเรียนรู้ในยุคปัจจุบัน  ในศตวรรษที่ 21
•    ต้องเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง
•    จากการเรียนวิชา  สู่การฝึกทักษะ
•    จากการรับการถ่ายทอด  สู่การพัฒนา งอกงามจากภายในตนเอง
•    ครูจึงต้องสอนให้น้อย  ส่งเสริมให้เรียนรู้มาก  ( Teach Less   Learn  More )
•    ยึดหลักการนี้ทั้งศิษย์และครู
11.    การจัดการเรียนรู้ในยุคปัจจุบัน
•    หาทางให้ นักเรียน นักศึกษา เป็นเจ้าของการเรียน ( Student Engagement)
•    กระตุ้นความสนใจใฝ่รู้
•    เรียนสนุก
•    เรียนด้วยความอยากเรียน
•    เรียนแล้วภูมิใจ เกิดความมั่นใจในตนเอง เห็นคุณค่าของตนเอง  มีโอกาสทำประโยชน์แก่ส่วนรวม
•    เห็นคุณค่าของตนเอง ของการเรียน ต่อชีวิตภายหน้า
•    ครูต้องฝึกจัดการเรียนรู้แบบนี้
•    PBL   CBL   RBL   SBL   WBL   IBL
12.    เปลี่ยนห้องสอนเป็นห้องเรียน
•    เพราะเป้าหมายการศึกษาเปลี่ยนไป  จากการเน้นวิชาความรู้  สู่การเรียนให้ได้ทักษะ สำหรับศตวรรษที่ 21   ทักษะที่จำเป็น  3 ร 1 ว ( แรงบันดาลใจ  เรียนรู้  ร่วมมือ  วินัยในตน )
•    จาก Teach  to Test  สู่  Holistic Learning  ให้ได้พัฒนาการ 5 ด้าน
•    การเรียนคือการปฏิบัติ  การเรียนรู้เกิดจากการปฏิบัติ + คิด เท่านั้น  ไม่ใช่การรับการถ่ายทอด
•    ครูต้องเป็นบทบาทจากครูสอน สู่ครูฝึก
13.    เปลี่ยนนักเรียนเป็นผู้สร้างความรู้
•    ร่วมจัดทำ VDO เพื่อกลับทางห้องเรียน
•    สร้างความรู้ใน PBL  (Problem – based Learning)
•    ตั้งคำถามที่หลุดโลก สู่โจทย์ Project  ที่ท้าทาย
•    เรียนโดยสร้างความรู้ ที่ทำประโยชน์แก่ผู้อื่น
•    เกิดทักษะในการเรียนรู้  ( Learning Skills ) จิตสาธารณะ
•    ทำงานเป็นทีม เกิดทักษะการทำงานเป็นทีม ทักษะความร่วมมือ (Collaboration  Skills) การสอนเพื่อน
14.    เปลี่ยนครู จากครูสอนมาเป็นครูฝึก
•    ครูต้องสร้างแรงบันดาลใจ จุดไฟ ให้กับเด็ก
•    ยั่วยุ บอกเป้าหมายที่ท้าทาย ของนักเรียนแต่ละคน
•    ชื่นชม และแนะให้แก้จุดอ่อน แนะให้ฝึกเพิ่ม เพื่อยกระดับตรงจุดที่จำเพาะของแต่ละคน
•    ครูไม่ใช่เจ้าของชั้นเรียน นักเรียนเป็นเจ้าของ ครูเป็นผู้อำนวยความสะดวก
•    คอยสังเกตปัญหา / ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนแต่ละคน
15.    ปัจจัยสำคัญของการยกระดับคุณภาพการศึกษา
•    ปัจจัยสำคัญที่สุดต่อการเรียนรู้คือสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของนักเรียนในห้องเรียน ซึ่งขึ้นอยู่กับวิธีสอนของครู มากกว่าสิ่งที่ครูสอน
16.    7 R –Based Principle for Smart Teaching
•    Prior Knowledge
•    K Organization
•    Motivation
•    Develop Mastery
•    Practice & Feedback
•    Student Development & Climate
•    Self-directed Learner
17.    ขั้นตอนการพัฒนาให้รู้จริง



18.    วงจรการเรียนรู้แบบกำกับตัวเอง

19.    การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
•    ครุพึงใช้จินตนาการ หา / ศึกา วิธีการริเริ่มสร้างสรรค์ ไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว
•    เพื่อให้ศิษย์ และครู ได้เรียนรู้แบบบูรณาการ ลงมือทำ – คิดไตร่ตรอง ทั้งส่วนบุคคลและเป็นทีม
•    เกิดทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ฝึกทักษะทั้งด้านนอกและด้านใน
•    มีทักษะและฉันทะ เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต
•    จัดบรรยากาศให้สัปปายะ
20.    เปลี่ยนแปลงการสอบ
    แบบเดิม                                                                       ศตวรรษที่ 21
จากการประเมินเพื่อได้ตก นานๆ ครั้ง                   เป็นเพื่อนักเรียนและครูปรับปรุงตนเอง
จากการตัดสินได้ -ตก                                           เป็นการหานักเรียนที่ต้องช่วยเหลือ
จากการให้รางวัล / ลงโทษ                                  เป็นเพื่อสร้างแรงจูงใจในการเรียน
จาการสอบหลายอย่าง นานๆ ครั้ง                        เป็นสอบน้อยอย่าง บ่อยๆ ครั้ง
จากการสอบความจำ                                            เป็นสอบความคิด ความเข้าใจ  PISA

21.    สรุปการปฏิรูปห้องเรียน
•    ด้วยห้องเรียนกลับด้าน
•    เรียนวิชาเองที่บ้าน
•    ฝึกความรู้ที่โรงเรียน หรือภาคสนาม ฝึกในชีวิตจริง
•    เรียนโดยลงมือทำ + คิด  ไตร่ตรอง  เรียนเป็นทีม
•    เปลี่ยนวิถีชีวิตครู และครูของครู
•    ครูของครู เรียนรู้วิธีเป็นนักเรียน เพื่อฝึกให้ครูเป็นนักเรียน ในศตวรรษที่ 21
•    ใช้ ICT ในการเรียนรู้

ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :