ครูรัตนาภรณ์   ลัธธนันท์  

 

สถิติ
เปิดเมื่อ2/02/2012
อัพเดท24/08/2023
ผู้เข้าชม361157
แสดงหน้า532021
เมนู
ปฎิทิน
October 2024
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
  
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
  

สภากาแฟ

อ่าน 3480 | ตอบ 1
                
สภากาแฟ
 

 
     การเรียนในห้องเรียนสี่เหลี่ยม  นักเรียนนั่งเป็นแถวหันหน้าเข้าหากระดานดำ  มีครูผู้สอนอยู่หน้าชั้นเรียน คงเป็นภาพการเรียนการสอนแบบเดิมๆ ที่เคยเราปฏิบัติมา  ครูสอนหน้าชั้นเรียนตลอดเวลา  มีนักเรียนแถวหน้า ต้องตั้งใจเรียนเพราะอยู่ใกล้มือใกล้ไม้ของครู  เด็กๆ ที่นั่งใกล้หน้าต่างก็มองออกนอกหน้าต่าง  บางครั้งนักเรียนที่นั่งแถวหลังก็ก้มหน้าก้มตาลอกการบ้านวิชาอื่น  หรือบางชั่วโมงดูเหมือนนักเรียนตั้งใจเรียนนั่งกันเงียบทั้งชั่วโมง  แต่เมื่อครูถามก็นั่งเงียบเช่นเคย  ครูเลยไม่รู้ว่าเงียบเพราะเข้าใจหรือเพราะไม่รู้เรื่องกันแน่   การเรียนแบบใหม่นั้นเป็นการจัดให้นักเรียนได้เรียนรู้เป็นกลุ่ม เพื่อจะช่วยให้นักเรียนเรียนรู้แบบร่วมมือกัน  ซึ่งจะทำให้นักเรียนได้มีทักษะในการทำงาน  ทักษะในการแก้ปัญหา และสามารถเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างเหมาะสม   ตัวอย่างกิจกรรมการเรียนรู้ในที่นี้คือการเรียนรู้เรื่องอันตรายจากการประกอบอาชีพ  โดยมีขั้นตอนการดำเนินการดังนี้
 
ขั้นตอนการจัดกิจกรรม

 

  1. นักเรียนแบ่งเป็นกลุ่ม  กลุ่มละ 4-5 คน
  2. นักเรียนแต่ละกลุ่มจับสลากเลือกอาชีพต่างๆแล้วนักเรียนระดมความคิด เรื่องสิ่งแวดล้อมในการทำงานของแต่ละอาชีพที่กำหนดให้ ตามประสบการณ์เดิมของนักเรียน
  3. นักเรียนศึกษาใบความรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมในการทำงานแบ่งออกเป็น4 ประเภท
  4. นักเรียนแต่ละกลุ่มต้องสร้างแผนผังความคิด  ( Mind Mapping ) จัดกลุ่มของสิ่งแวดล้อมตามประเภทต่างๆ  ให้ครบทั้ง 4 ประเภท   และตกแต่งแผนผังความคิดให้สวยงามโดยใช้เวลา 30 นาที
  5. นักเรียนแต่ละกลุ่มรายงานผลการปฏิบัติงาน
  6. นักเรียนร่วมกันสรุปผลการเรียนรู้ร่วมกัน  และครูช่วยเพิ่มเติมเพื่อความสมบูรณ์
 
ประโยชน์ที่นักเรียนได้รับ
  1. นักเรียนพัฒนากระบวนการคิด  โดยการระดมความคิดร่วมกันเป็นกลุ่ม
  2. นักเรียนมีกระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือ
  3. นักเรียนมีทักษะในการทำงานเป็นกลุ่ม  การแสดงความคิดเห็น  การยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น



 


แนวทางการจัดกิจกรรม
 
    การเตรียมเอกสารประกอบบทเรียน     ในการทำกิจกรรมต้องเตรียมเอกสารประกอบ บทเรียน เช่น ใบความรู้  ใบงาน  ก่อนการสอนให้เรียบร้อยโดยคนึงถึง เนื้อหา  เวลาที่ใช้ในการทำกิจกรรมที่เหมาะสม และมีจำนวนเพียงพอกับนักเรียนทั้งชั้นเรียน
  • การแบ่งกลุ่มนักเรียน  การแบ่งกลุ่มโดยให้นักเรียนเลือกได้ตามความสมัครใจ กลุ่มจะแสดงให้เห็นความสัมพันธ์พื้นฐานภายในของนักเรียน  นักเรียนที่เรียนเก่งจะอยู่กับนักเรียนที่เก่งด้วยกัน  นักเรียนที่มีผลการเรียนปานกลางและ นักเรียนที่มีผลการเรียนอ่อนมักจะรวมกันเป็นกลุ่มๆ  วิธีการนี้จะทำให้ครูสามารถเลือกวิธีพัฒนาศักยภาพของนักเรียนที่แตกต่างกันได้ในเวลาเดียวกัน  เช่น  นักเรียนที่เรียนเก่งมีความสามารถในการเรียนรู้ได้เร็ว ครูจะช่วยเป็นที่ปรึกษาใช้เวลาในการแนะนำเล็กน้อย  นักเรียนก็จะปฏิบัติได้เอง   ส่วนนักเรียนที่เรียนอ่อนหรือขาดความสนใจในการเรียน   ครูจะใช้เวลาดูแลนักเรียนระหว่างการทำกิจกรรมได้มากขึ้นหรือสามารถควบคุมพฤติกรรมได้ใกล้ชิดมากขึ้น 
  • การเตรียมกิจกรรมสำรอง    ในการทำกิจกรรมเป็นกลุ่มนี้  นักเรียนบางกลุ่มที่มีความสามารถในการเรียนรู้ได้เร็ว จะทำงานเสร็จก่อนเวลาที่กำหนด  เมื่อต้องรอเพื่อนกลุ่มอื่นๆ  อาจเกิดความเบื่อหน่ายหรือคุยกัน  ซึ่งเป็นการรบกวนเพื่อนกลุ่มอื่นๆ  ดังนั้นจึงต้องเตรียมกิจกรรมสำรองให้นักเรียนเพิ่มเติม อาจจะเป็นเอกสารความรู้เพิ่มเติม  หรือเป็นเรื่องสั้น  นิทาน  การเล่นเกม    ก็ได้  ซึ่งจะเป็นการเสริมแรงให้กับนักเรียน เป็นการจูงใจให้นักเรียนอยากทำงานให้เสร็จเร็วขึ้น
  • การเตรียมความพร้อมด้านสถานที่   กิจกรรมนี้สามารถจัดได้ทั้งในห้องเรียน หรือนอกห้องเรียน  ต้องเตรียมความพร้อมด้านสถานที่ทำงานของนักเรียน ถ้าแข่งเป็นกลุ่มแล้วห้องเรียน         คับแคบ  อาจจะย้ายมาเรียนที่สวนหย่อม  หรือสนามหญ้า  ที่มีโต๊ะเก้าอี้ให้นักเรียนนั่งทำงานเป็นกลุ่มได้   บรรยากาศการเรียนรู้ก็จะดีมากขึ้น  มีความสะดวกมากขึ้น  ขณะเดียวกันเวลาที่นักเรียนระดมความคิดในกลุ่ม  นักเรียนก็จะไม่รบกวนนักเรียนในชั้นเรียนอื่นๆ ด้วย
     
  • บทบาทของครูระหว่างการทำงานของนักเรียน  ขณะที่ครูเดินดูนักเรียนแต่ละกลุ่มจะมีความใกล้ชิดกับนักเรียนมากขึ้น ครูจะรับฟังการอภิปรายในกลุ่มย่อยของนักเรียน  ทำให้ครูสามารถให้     คำแนะนำในสิ่งที่นักเรียนไม่เข้าใจ  ตอบปัญหาและแก้ไขสิ่งที่นักเรียนเข้าใจไม่ถูกต้องได้ทันทีขณะที่นักเรียนสนทนากันในกลุ่ม
  • การบูรณาการคุณธรรมกับการเรียนรู้  ในการทำงานร่วมกัน ครูสามารถสอดแทรกเรื่องคุณธรรมด้านความรับผิดชอบ  ความมีวินัย  ฝึกการทำงานแบบประชาธิปไตย ภาวะผู้นำและผู้ตามที่ดี  ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์  สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นจากกิจกรรมกลุ่มได้ทั้งสิ้น
 
สรุปผลการจัดกิจกรรมและข้อเสนอแนะ
  1.   การแบ่งกลุ่มนักเรียนให้ได้ร่วมกันศึกษาวิธีนี้  บทบาทของครูจะเป็นเพียงผู้แนะนำให้คำปรึกษา  เป็นผู้สังเกตการณ์  การทำงานกลุ่มของนักเรียน  คือการร่วมกันระดมความคิด  ร่วมกันวิเคราะห์วิจารณ์ เสนอแนะ  ทำให้ได้แนวความคิดและคำตอบที่หลากหลาย  จากนั้นนักเรียนก็จะสังเคราะห์ความคิดทั้งหมดรายงานอย่างเป็นระบบด้วยแผนผังความคิด  ซึ่งหลังจากการอภิปรายกลุ่มย่อยแล้ว  ก็ต้องมีการนำเสนอผลงานในห้อง  เพื่อที่จะสรุปผลอีกครั้ง ซึ่งแตกต่างจากการ     เรียนแบบเดิมที่ครูอยู่หน้าชั้นเรียน  นักเรียนมักจะไม่กล้าถาม  แต่ถ้าครูเข้ามาอยู่ที่กลุ่ม  นักเรียนจะมีความกล้าและสนทนาโต้ตอบกับครูได้มากกว่า
  2.  ในขณะที่นักเรียนทำงานครูมีเวลามากขึ้น  สามารถสังเกต    พฤติกรรมการทำงานของนักเรียนในกลุ่มหรือเป็นรายบุคคลได้ง่ายขึ้น   ครูจะได้รู้จักนักเรียนมากขึ้น  ทั้งในด้านความสามารถการเรียนรู้  ทักษะการทำงาน และด้านพฤติกรรม   ซึ่งครูสามารถนำมาเป็นแนวทางในการวางแผนการพัฒนานักเรียนได้ต่อไป

 

 
 บรรยากาศในชั้นเรียน   การเรียนแบบกลุ่ม  ทำให้ภาพห้องเรียนแถวหน้ากระดานหายไป  ครูและนักเรียนพูดคุยกันมากขึ้น  บางครั้งอาจมีความสับสนวุ่นวายบ้าง  ครูเดินไปเดินมารอบๆ  แต่ห้องเรียนมีความสนุกสนานเป็นกันเองทั้งนักเรียนและครู   เวลาเรียนหนึ่งคาบเรียนหายไปอย่างรวดเร็ว แต่ถึงเวลาในคาบต่อๆไป  เด็กๆ จะกระตือรือร้นในการมาเรียนเร็วขึ้น  ชั่วโมงสุขศึกษานี้ไม่มีใครนั่งหลับอีกแล้ว  แต่ข้อพึงระวังก็คือ  ครูต้องดูแลนักเรียนไม่ให้รบกวนเพื่อนห้องเรียนข้างๆ  หรือบางครั้งก็อาจจะเปลี่ยนมาเรียนกันที่สนามหญ้าบ้าง  โต๊ะม้าหินอ่อนในสวนหย่อมบ้าง  บรรยากาศก็จะสบายมากขึ้นและไม่รบกวนเพื่อนข้างๆห้อง     สำหรับครูผู้สอนแล้ว  สิ่งหนึ่งที่ได้พบในการสอนแบบนี้ก็คือ ท่าทาง  คำพูด  มุกตลกแปลกๆ แต่จริงของเด็กๆ  และตลอดจนความสามารถอีกหลายอย่างของนักเรียน  แต่ที่แน่ๆ ก็คือเป็นห้องเรียนก็มีความสุขขึ้นทั้ง ครูและนักเรียน
 
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :